บทที่ 10
การคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
ความหมายของการคัดออก
หมายถึง กระบวนการในการตรวจสอบและการประเมินผลทรัพยากรสารสนเทศอย่างเป็นระบบแบบแผน เพื่อพิจารณาว่าทรัพยากรสารสนเทศใดมีเนื้อหาล้าสมัย ไม่น่าสนใจ และชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ มีผู้ใช้น้อยหรือไม่มีผู้ใช้เลยเป็นระยะเวลานาน จึงไม่มีประโยชน์ที่จะเก็บไว้ จำเป็นต้องคัดออกไปจากชั้น
ประโยชน์ของการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
- ทำให้ห้องสมุดมีจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่พอเหมาะ
- ทำให้มีเนื้อที่ห้องสมุดเพิ่มขึ้น
- ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้สะดวกและรวดเร็ว
- ทำให้ทรัพยากรสารสนเทศที่ยังคงไว้ในห้องสมุดมีเนื้อหาที่ทันสมัยถูกต้องและน่าเชื่อถือ
- ทำให้ทรัพยากรสารสนเทศมีสภาพที่ดี
- ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
นโยบายในการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
- ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องในการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด จะมีหน้าที่โดยตรงต่อการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก อาจารย์จะพิจารณาจากเนื้อหาว่าเหมาะสมหรือไม่ ผู้ใช้ห้องสมุดมีส่วนร่วมบางรายการว่าตรงตามความต้องการหรือไม่
- ขอบเขตและสาขาวิชาของทรัพยากรสารสนเทศที่จะทำการคัดออก
- ระยะเวลาในการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
หลักเกณฑ์ในการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
- พิจารณาสถิติการยืม
- พิจารณาปีที่พิมพ์
- พิจารณาจากเนื้อหา
- ภาษาของทรัพยากรสารสนเทศ
- ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
- การพิจารณรสภาพภายนอกของทรัพยากรสารสนเทศ
- การพิจารณาทรัพยากรสารสนเทศรายการซ้ำ
ขั้นตอนการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
- การสำรวจทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด
- การประชุมปรึกษาหารือร่วมกับกลุ่มบุคคลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
- ดำเนินการแยกทรัพยากรสารสนเทศที่จะคัดออกและดึงบัตรยืม
- การจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศออก
- จัดทำสถิติการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก