วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ

          หมายถึง วัสดุที่บันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ไว้ในสื่อรูปแบบต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมและสัมผัสได้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และความบันเทิง

ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

          แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
          1. วัสดุตีพิมพ์ (Printed  materials) หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศไว้บนแผ่นกระดาษเป็นหลัก และสื่อความหมายด้วยตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้
  • หนังสือ (book)
  • วารสารและนิตยสาร (Periodicals)
  • หนังสือพิมพ์ (Newspapers) 
  • จุลสาร (Pamphlets)
  • กฤตภาค (Clippings)
          2. วัสดุไม่ตีพิมพ์ (Non-Printed  materials) หมายถึง วัสดุที่บันทึกและถ่ายทอดสารสนเทศด้วยสัญลักษณ์ ภาพ แสง สี เสียง โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้
  • โสตทัศนวัสดุ (Audio-visual materials)
  • วัสดุย่อส่วน (Microfilms)
  • สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic media)
ความสำคัญของทรัพยากรสารสนเทศต่อห้องสมุด

          1. ห้องสมุดโรงเรียน (School library) จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายหลักสูตรที่วางไว้ และสร้างพื้นฐานในการรู้จักใช้ห้องสมุดประเภทอื่นๆต่อไป
          2. ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (Academic library) จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา และเป็นแหล่งทำวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา
          3. ห้องสมุดเฉพาะ (Special library) จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศเฉพาะด้านแก่องค์กรหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
          4. ห้องสมุดประชาชน (Public library) จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย โดยไม่คิดค่าบริการหรือเสียค่าบริการน้อยมาก
          5. ห้องสมุดแห่งชาติ (National library) จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่ผลิตในประเทศที่ได้รับตามกฏหมายของแต่ละประเทศ
ชี่ยวชช

ความเป็นมาของทรัพยากรสารสนเทศ

          ห้องสมุดมีขนาดใหญ่เท่าใดยิ่งจะเป็นห้องสมุดที่ดี ทำให้ห้องสมุดต้องคำนึงถึงกระบวนการจัดหาทรัพยากรเข้าห้องสมุดมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณภาพ จึงต้องมีตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา และนักบรรณานุกรมเฉพาะสาขาในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เพื่อทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับอาจารย์ ตัดสินใจเลือก และจัดหาหนังสือสาขาต่างๆ รวมทั้งความร่วมมือกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด ได้แก่ ผู้ใช้ และบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ สนองความต้องการและบริบทของผู้ใช้และสอดคล้องกับสภาพห้องสมุดมากที่สุด

กิจกรรมของการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
       
          มี 3 ขั้นตอนและแต่ละขั้นตอนประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
         1.1 การศึกษาผู้ใช้ (Community analysis)
         1.2 การจัดทำนโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (Selection policies)
ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินงาน ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
          2.1 การเลือกทรัพยากรสารสนเทศ (Selection)
          2.2 การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (Acquisition)
ขั้นตอนที่ 3 การประเมิน ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
          3.1 การคัดทรัพยากรสารสนเทศออก (Deselection)
          3.2 การประเมินทรัพยากรสารสนเทศ (Evaluation)

ความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

          1. ด้านคุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศ
          2. ด้านการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
          3. ด้านงานบริการ
          4. ความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงาน

คุณสมบัติของบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ ผู้ทำหน้าที่พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

          1. เป็นผู้รักการอ่าน มีนิสัยใฝ่รู้ และมีความรู้ทางวิชาการ
          2. มีวิจารณญาณที่ดี ถูกต้อง เหมาะสม และไม่มีอคติในการเลือก
          3. มีความคิดริเริ่ม ทักษะ และเข้าใจงาน
          4. มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
          5. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใช้และเข้าใจความต้องการของผู้ใช้
          6. มีความรู้ด้านการบริหาร เพื่อสามารถประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
          7. ได้รับการฝึกฝนในงานด้านธุรการตามสมควร
          8. มีความรู้เกี่ยวกับการผลิต
          9. รู้และเข้าใจวัตถุประสงค์และนโยบายของห้องสมุด
          10. มีความรู้เกี่ยวกับกฏหมายและระเบียบข้องบังคับด้านการพิมพ์



บทที่2 การวางแผนการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ


          การวางแผนทรัพยากรสารสนเทศ เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ โดยประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การศึกษาผู้ใช้ และ การจัดทำนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

การศึกษาผู้ใช้

          การศึกผู้ใช้ เป็นการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ และความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ้งข้อมูลเหล่านี้ทำให้รู้จักเข้าใจ และทราบความต้องการของผู้ใช้มากขึ้นและนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน และการจัดทำนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมต่อไป

วัตถุประสงค์การศึกษาผู้ใช้

  1. เพื่อให้ห้องสมุดเลือกและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ตามความต้องการผู้ใช้
  2. เพื่อเพิ่มปริมาณของผู้เข้าใช้ห้องสมุด
  3. เพื่อให้ทรัพยากรที่จัดหามาได้ถูกนำไปใช้อย่างคุ้มค่าเกืดประโยชน์สูงสุด
  4. เพื่อให้บริการของห้องสมุดอยู่ในความน่าสนใจของผู้ใช้อยู่เสมอ
  5. เพื่อให้การใช้งบประมาณที่มีอยู่ในวงจำกัดได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า โดยยึดหลัก "ประโยชน์สูง ประหยัดสุด"
วิธีการเก็บและรวบรวมข้อมูลการศึกษาผู้ใช้

1. การเก็บและรวบรวมข้อมูลทางตรง

          1.1 การรวบรวมจากแบบสอบถาม
          1.2 การสอบถาม / สัมภาษณ์ผู้ใช้โดยตรง
          1.3 การให้ผู้ใช้เสนอรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการให้ห้องสมุดจัดหาให้

2. การเก็บและรวบรวมข้อมูลทางอ้อม

          2.1 การสังเกตการณ์
          2.2 การวิเคราะห์สถิติที่ห้องสมุดเก็บรวบรวมไว้
          2.3 การอ้างอิงในเอกสาร

ขั้นตอนการดำเนินงานการศึกษาผู้ใช้

  1. กำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตในการศึกษาผู้ใช้อย่างชัดเจน
  2. เลือกวิธีการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
  3. จัดทำแผนดำเนินงานที่แน่ชัดและสามารถปฏิบัติได้
  4. ดำเนินงานรวบรวมข้อมูลตามแผนที่กำหนดไว้อย่างเป็นขั้นตอน
  5. วิเคราะห์และตีความข้อมูลที่ได้จากการศึกษา
  6. จัดทำรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
  7. นำผลการศึกษาผู้ใช้ไปเป็นข้อมูลในนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ


การจัดทำนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

          เป็นรายละเอียดที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการเลือก และจัดหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดโดยเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งการระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ซึ่งมีความสำคัญดังนี้

  1. ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ใช้เป็นแนวทางในการเลือก การจัดหา และการเลือก
  2. ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สามารถจัดสรรงบประมาณในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ห้องสมุดสามารถควบคุมการเพิ่มจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่จำเป็น
  4. ห้องสมุดสามารถขอความร่วมมือกับห้องสมุดอื่น เพื่อการจัดหาและใช้สารสนเทศร่วมกัน

รายละเอียดนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

  1. วัตถุประสงค์ของการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ควรให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของห้องสมุดและความต้องการของผู้ใช้
  2. ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
  3. เกณฑ์ในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านผู้แต่ง/และผู้จัดทำ
  4. งบประมาณ
  5. คู่มือหรือแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการคัดเลือก
  6. การบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
  7. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
ขั้นตอนในการจัดทำนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

  1. จัดตั้งคณะกรรมการ
  2. รวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ
  3. เขียนนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษร
  4. เสนอนโยบายเพื่อขอความเห็นชอบ
  5. ประกาศใช้นโยบาย



          




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น