วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 10
การคัดทรัพยากรสารสนเทศออก

ความหมายของการคัดออก

          หมายถึง กระบวนการในการตรวจสอบและการประเมินผลทรัพยากรสารสนเทศอย่างเป็นระบบแบบแผน เพื่อพิจารณาว่าทรัพยากรสารสนเทศใดมีเนื้อหาล้าสมัย ไม่น่าสนใจ และชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ มีผู้ใช้น้อยหรือไม่มีผู้ใช้เลยเป็นระยะเวลานาน จึงไม่มีประโยชน์ที่จะเก็บไว้ จำเป็นต้องคัดออกไปจากชั้น

ประโยชน์ของการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
  1. ทำให้ห้องสมุดมีจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่พอเหมาะ
  2. ทำให้มีเนื้อที่ห้องสมุดเพิ่มขึ้น
  3. ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้สะดวกและรวดเร็ว
  4. ทำให้ทรัพยากรสารสนเทศที่ยังคงไว้ในห้องสมุดมีเนื้อหาที่ทันสมัยถูกต้องและน่าเชื่อถือ
  5. ทำให้ทรัพยากรสารสนเทศมีสภาพที่ดี
  6. ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
นโยบายในการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
  1. ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องในการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด จะมีหน้าที่โดยตรงต่อการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก อาจารย์จะพิจารณาจากเนื้อหาว่าเหมาะสมหรือไม่ ผู้ใช้ห้องสมุดมีส่วนร่วมบางรายการว่าตรงตามความต้องการหรือไม่
  2. ขอบเขตและสาขาวิชาของทรัพยากรสารสนเทศที่จะทำการคัดออก
  3. ระยะเวลาในการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
หลักเกณฑ์ในการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
  1. พิจารณาสถิติการยืม
  2. พิจารณาปีที่พิมพ์
  3. พิจารณาจากเนื้อหา
  4. ภาษาของทรัพยากรสารสนเทศ
  5. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
  6. การพิจารณรสภาพภายนอกของทรัพยากรสารสนเทศ
  7. การพิจารณาทรัพยากรสารสนเทศรายการซ้ำ
ขั้นตอนการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
  1. การสำรวจทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด 
  2. การประชุมปรึกษาหารือร่วมกับกลุ่มบุคคลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
  3. ดำเนินการแยกทรัพยากรสารสนเทศที่จะคัดออกและดึงบัตรยืม
  4. การจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศออก
  5. จัดทำสถิติการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
บทที่ 9 
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ


การใช้อินเตอร์เน็ตในงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

1. การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ จากแหล่งข้อมูล ดังนี้
1.1 ฐานข้อมูลบรรณานุกรมของห้องสมุดของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศและทั่วโลก เพื่อเปรียบเทียบรายการทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ
  1.2 ฐานข้อมูลบรรณานุกรมของแหล่งจำหน่าย เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ของตน หากบรรณารักษ์ทราบที่อยู่ของแหล่งจำหน่ายก็สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลนั้น ๆ ได้ทันทีโดยผ่านบริการในอินเตอร์เน็ต
1.3 คำแนะนำของผู้ใช้ เพราะทรัพยากรสารสนเทศที่จัดหาเข้ามานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้
1.4 รายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับรางวัล

2. การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการสั่งซื้อทรัพยากรสารสนเทศ ทำให้เกิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชิงพาณิชย์กระจายอยู่ทั่วไปในอินเตอร์เน็ต มีการเสนอสินค้าและบริารอื่น ๆ
3. การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการขอรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศ
3.1 ใช้สืบค้นแหล่งบริจาคทรัพยากรสารสนเทศด้วยบริการที่มีอยู่บนอินเตอร์เน็ต
3.2 ใช้เป็นแหล่งที่แจ้งข่าวการขอรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศ
3.3 ใช้ติดต่อขอรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศ ด้วยการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

4. การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศ
4.1 ใช้สืบค้นแหล่งเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศด้วยบริการที่มีอยู่บนอินเตอร์เน็ต
4.2 ใช้เป็นที่แจ้งข่าวการแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด
4.3 ใช้ติดต่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศ

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติกับงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

เป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเครื่องจักรกลเข้ามาดำเนินงานต่าง ๆ ของห้องสมุด ซึ่งคำว่าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ หมายถึง การทำงานของระบบงานห้องสมุดที่ทำงานร่วมกันหรือเชื่อมโยงกัน ห้องสมุดต่าง ๆ ได้นำเอาระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ในการดำเนินงานได้หลายวิธี เป็นการทำสำเนาระบบที่มีการพัฒนาแล้วมาดัดแปลงเพื่อความเหมาะสมต่อการใช้งานในห้องสมุดของตนเองเป็นระบบที่ประหยัดค่าใช้จ่าย และเวลาในการออกแบบ
โดยทั่วไประบบห้องสมุดอัตโนมัติเป็นระบบการจัดการระบบสารสนเทศในห้องสมุด ประกอบด้วยส่วนการทำงานใน 5 โมดูลหลัก ๆ ได้แก่ ระบบการจัดหา ระบบงานวิเคราะห์หมวดหมู่ และลงรายการ ระบบงานสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ระบบงานบริการยืม-คืน และระบบงานสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศ





บทที่ 8 
การจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ


ลักษณะการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ

1. การจัดซื้อโดยตรงจากผู้ผลิต ผู้ผลิตอาจเป็นสำนักพิมพ์ หน่วยงาน สถาบันองค์กรหรือบุคคล
2. การจัดซื้อจากตัวแทนจำหน่าย

ข้อดี คือ
1. สะดวกในการสั่งซื้อทรัพยากรสารสนเทศจากหลาย ๆ สำนักพิมพ์
2. ได้ส่วนลดพอสมควร
3. ตัวแทนอาจส่งรายชื่อทรัพยากรใหม่ ๆ มาให้ห้องสมุดอยู่เสมอ
4. ห้องสมุดอาจให้จัดส่งทรัพยากรสารสนเทศตัวอย่างมาให้เลือกซื้อ

ข้อเสีย คือ
1. ค่าบริการไม่แน่นอน บางแห่งอาจคิดกำไรมากเกินไป
2. ได้รับส่วนลดน้อยกว่าที่ซื้อมาจากผู้ผลิตหรือสำนักพิมพ์โดยตรง
3.  การจัดซื้อจากร้านจำหน่ายหรือศูนย์หนังสือ ที่เป็นแหล่งรวบรวมความเคลื่อนไหวของตลาดหนังสือ โดยเฉพาะศูนย์หนังสือของมหาวิทยาลัย

กระบวนการสั่งซื้อ

1. วิธีจัดซื้อ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.1 การจัดเชิงเงื่อนไข เป็นการติดต่อระหว่างห้องสมุดและสำนักพิมพ์ หรือตัวแทนจำหน่าย โดยมีข้อตกลงที่เป็นเงื่อนไขในการจัดซื้อไว้ด้วยกัน
1.2 การจัดซื้อเชิงอิสระ เป็นการติดต่อเพื่อการจัดซื้อโดยที่ห้องสมุด และสำนักพิมพ์หรือตัวแทนไม่ได้ทำข้อตกลงหรือเงื่อนไขใด ๆ และเมื่อใดก็ได้ตามที่ห้องสมุดเห็นสมควร

2. การเลือกแหล่งจำหน่าย ทำให้เกิดแหล่งจำหน่ายหนังสือขึ้นมากมาย ซึ่งการพิจารณาความเชื่อถือได้ของแหล่งจำหน่ายมีองค์ประกอบที่ควรพิจารณาดังนี้

2.1 ความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม
2.2 สถานภาพของแหล่งจำหน่าย
2.3 การบริหารการเงิน
2.4 เทคโนโลยี

3. ขั้นตอนการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ มีกระบวนการดังนี้ คือ การตรวจสอบทางบรรณานุกรมก่อนสั่งซื้อ ขั้นตอนการสั่งซื้อ การตรวจรับทรัพยากรสารสนเทศ และการเก็บหลักฐานการสั่งซื้อ

การจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบอินเตอร์เน็ต

เป็นการซื้อขายโดยตรงกันด้วยระบบอินเตอร์เน็ต สามารถสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ได้ทันที ทำให้ขายสินค้าได้ทั่วโลกและทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปเลือกสินค้า ดังนั้นการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดเป็นการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์จึงเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงาน การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ติดต่อโดยตรงกับสำนักพิมพ์ ตัวแทนจำหน่าย หรือร้านหนังสือออนไลน์ ไม่ต้องใช้กระดาษในการส่งจดหมายสั่งซื้อหรือทวงถาม ตลอดจนการของแค๊ตตาล็อกและใบเสนอราคา สำหรับวิธีดำเนินการสั่งบนระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ

1. การสั่งซื้อด้วยบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์


2. การสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ของแหล่งจำหน่าย

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 7 
การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

ความหมายของการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

          หมายถึง วิธีการเพิ่มเติมทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ห้องสมุดด้วยวิธีต่างๆ โดยทรัพยากรสารสนเทศที่จัดหามาจะต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาว่ามีความเหมาะสมแล้วจึงนำเข้ามาไว้ในห้องสมุด

นโยบายของการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

            1.  เหตุผลที่สถาบันบริการสารสนเทศควรจะกำหนดนโยบายในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ มีดังนี้
                      1.1  ทำให้การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
                      1.2  ทำให้มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
                      1.3  ทำให้บรรณารักษ์สามารถควบคุมการเพิ่มจำนวนของทรัพยากรในสถาบัน
                      1.4  ทำให้ช่วยลดปัญหาการขัดแย้งในการปฏิบัติงาน

            2.  สาระสำคัญของการกำหนดนโยบายการจัดหา ควรมีสาระสำคัญ ดังนี้
                     
                      2.1  ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่จะรวบรวม ควรเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทใดบ้าง และควรระบุชนิด
                        2.2  สถาบันบริการสารสนเทศจะเน้นการจัดหาทรัพยากรในสาขา และจะให้ครอบคลุมในสาขา
                         2.3  สถาบันบริการสารสนเทศจะจัดหาสำหรับผู้ใช้ในระดับวัย และการศึกษาใด
                         2.4  จำกัดภาษาของทรัพยากรสารสนเทศ
                         2.5  จำนวนหนังสือซ้ำเล่ม ควรจะกำหนดเกณฑ์ว่าจะจัดซื้อเรื่องละกี่เล่ม
                         2.6  วิธีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศจะใช้วิธีใด
                         2.7  ความร่วมมือระหว่างสถาบันบริการสารสนเทศในการจัดหา

การจัดหาสิ่งพิมพ์

          สิ่งพิมพ์ที่ห้องสมุดจัดหามาไว้ ได้แก่ หนังสือ วารวาร และหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือ เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดหามาไว้มากที่สุด ส่วนสิ่งพิมพ์ประเภทวารสารและหนังสือพิมพ์ จะใช้วิธีการจัดหาโดยการบอกรับเป็นสมาชิก ซึ่งอาจบอกรับโดยตรงกับผู้ผลิต และการบอกรับผ่านตัวแทน

การจัดหาโสตทัศนวัสดุ
  1. การจัดซื้อโสตทัศนวัสดุ โดยการจัดซื้อทั่วไปเช่นเดียวกับการจัดซื้อหนังสือ
  2. การเช่าโสตทัศนวัสดุ เป็นวิธีที่ห้องสมุดใช้หรือนำมาให้บริการช่วงสั้นๆ
  3. การขอและการรับบริจาค โดยไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณของห้องสมุด
  4. การทำสำเนา 
  5. การผลิตขึ้นเอง
การจัดหาวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
  1. การจัดซื้อ คือ การจัดซื้อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จบในตัวเองเป็นการซื้อลักษณะเดียวกับหนังสือหรือโสตทัศนวัสดุ
  2. การบอกรับ คือ การจัดหาวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อมูลต่อเนื่องกันโดยมีการผลิตหรือปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา
  3. การผลิตขึ้นเอง คือ วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นเองอาจทำโดยนำสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีอยู่แล้วและนำไปบันทึกเป็นซีดีรอมหรือออนไลน์
  4. การจัดหาในลักษณะเป็นภาคี คือ ห้องสมุดมากว่าหนึ่งแห่งร่วมมือกัน เพื่อจัดหาวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน



















วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 6 
ความเคลื่อนไหวในวงการทรัพยากรสารสนเทศ


องค์ประกอบในวงการผลิตและจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศ แบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้
  1. ผู้ผลิต หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำให้มีทรัพยากรสารสนเทศเกิดขึ้น โดยอาศัยแรงงานหรือเครื่องจักร ได้แก่
                  1.1 ผู้แต่ง (author) คือ ผู้สร้างสรรค์ผลงานออกมาในลักษณะต้นฉบับของทรัพยากรสารสนเทศ ผู้แต่งอาจเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคน และมีชื่อเสียงทางใดทางหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อที่จะได้ทราบแนวการเขียน
                   1.2 สำนักพิมพ์ และโรงพิมพ์ สำนักพิมพ์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการสร้างสรรค์วรรณกรรมต่างๆ ทำหน้าที่รวบรวมผู้เขียน สร้างผลงาน และรวบรวมผลงานของผู้เขียน โรงพิมพ์และสำนักพิมพ์มีความแตกต่างกันคือ โรงพิมพ์มีหน้าที่พิมพ์ต้นฉบับและการเย็บปกเข้าเล่มเท่านั้น ส่วนสำนักพิมพ์จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการค้นเพื่อเลือกต้นฉบับ ซึ่งอาจจะพิมพ์เองหรือจ้างให้โรงพิมพ์อื่นพิมพ์ให้ก็ได้

       2.  ผู้จัดจำหน่าย หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่จำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการผลิตจาก                 โรงพิมพ์ ผู้จัดจำหน่ายถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในวงการผลิตและจำหน่ายทรัพยากร                       สารสนเทศ เพราะเป็นผู้ที่กระจายสิ่งพิมพ์ไปสู่ผู้บริโภคได้เร็ว ผู้จัดจำหน่ายแบ่งออกเป็น 3                       ประเภท คือ

                    2.1 ผู้ผลิต คือ ผู้แต่งและสำนักพิมพ์ โดยอาศัยทุนจากการสนับสนุนของหน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน สมาคม สถาบันศึกษา หรือทุนส่วนตัว อาจทำหน้าที่จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง ส่วนสำนักพิมพ์นอกจากทำหน้าที่ผลิตแล้วยังอาจทำหน้าที่จำหน่ายด้วย
                    2.2  ผู้จัดจำหน่ายหรือตัวแทนจำหน่าย ทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่จะได้สิ่งพิมพ์จากผู้ผลิต โดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้ผลิตหรือสำนักพิมพ์นั้นๆ
                    2.3  ผู้จัดจำหน่ายปลีก คือ ร้านค้าที่รับสิ่งพิมพ์จากผู้ผลิต เพื่อนำไปขายปลีกแก่ผู้ซื้อ

          3.  ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งจะทำธุรกิจสิ่งพิมพ์หรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆให้อยู่รอด
          4.  องค์กรที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการผลิตและการจำหน่ายสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในวงการผลิตและจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศ และทำให้เกิดความร่วมมือในด้านการผลิตการส่งเสริมผลงานและด้านการจำหน่าย

องค์กรที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายสารสนเทศ

  1. สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
  2. สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  3. สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
  4. สมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย
  5. สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายแห่งประเทศไทย
  6. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์
  7. งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ
  8. รางวัลวรรณกรรมในประเทศไทย
  9. รางวัลวรรณกรรมในต่างประเทศ



          












บทที่ 5 
เครื่องมือช่วยในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ


ความหมายของเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

          หมายถึง เครื่องมือหรือคู่มือประกอบวิชาชีพของบุคลากรสารสนเทศ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปฏิบัติงานเลือกทรัพยากรสารสนเทศไว้ในสถาบันบริการสารสนเทศอย่างเหมาะสม และสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้

ความสำคัญของเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  1. ช่วยให้สามารถติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศ
  2. สามารถติดตามข้อมูลการผลิตและจำหน่ายออก และแลกเปลี่ยนทรัพยากรได้จากแหล่งข้อมูลกลาง
  3. เป็นเครื่องมือในการเลือกซื้อ ให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ เช่น การวิจารณ์หนังสือ
  4. เป็นเครื่องมือในการจัดหา ให้ข้อมูลประกอบการจัดหา คือ ข้อมูลทางบรรณานุกรม
  5. เป็นบัญชีตรวจสอบ และเปรียบเทียบความสมบูรณ์ของทรัพยากรสารสนเทศ
ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  1. บรรณานุกรม 
                เป็นการรวบรวมชื่อหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ จัดทำโดยห้องสมุดขนาดใหญ่ๆ บรรณานุกรมของหนังสือแต่ละรายการจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า ราคา (ถ้ามี) หมายเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) และอาจมี 
บรรณานิทัศน์ประกอบด้วย

      2. บรรณานิทัศน์
                  เป็นการสรุปสาระสำคัญของเนื้อเรื่องของเอกสารสิ่งพิมพ์ เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักสิ่งพิมพ์เล่มนั้นๆ โดยสังเขปว่ามีเนื้อหาสาระน่าสนใจหรือมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด สมควรที่จะซื้ออ่านหรือไม่ บรรณานิทัศน์ที่ดีควรใช้ถ้อยคำสั้น รัดกุมได้ตรงตามจุดหมาย ไม่พูดซ้ำซาก มีข้อความสละสลวยน่าอ่าน มีศิลปะในการเขียนที่สามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจ ที่สำคัญคือข้อความนั้นจะต้องถูกต้องตามเนื้อหาสาระของเรื่องและความยาวพอเหมาะ จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ดีและตรงตามวัตถุประสงค์

        3. คอลัมน์แนะนำหนังสือและบทวิจารณ์หนังสือ

                   คอลัมน์แนะนำหนังสือหรือบทวิจารณ์หนังสือที่ปรากฏในหน้าวารสารหรือหนังสือพิมพ์ มักเป็นคอลัมน์ประจำในทุกฉบับที่ออกจำหน่าย โดยมีชื่อคอลัมน์ที่แตกต่างกันออกไป
                   วิจารญ์หนังสือ เป็นการเขียนเล่าเรื่องและแสดงข้อคิดเห็น โดยสังเขปเกี่ยวกับหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง บทวิจารณ์หนังสือจะช่วยประหยัดเวลาในการอ่าน ใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกและจัดหน้าหนังสือกรณีที่ไม่มีโอกาสเห็นตัวเล่มหนังสือ

                ลักษณะของบทวิจารณ์หนังสือที่ดี
  1. ควรมีแบบแผนในการเขียนที่ดี และแสดงความคิดเห็นออกมาอย่างง่ายๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เป็นการวิจารณ์ที่เชื่อถือได้ ควรวิจารณ์โดยผู้ที่อ่านหนังสือนั้นจริงๆ และมีความรู้ในสาขาที่วิจารณ์
  3. ควรมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหนังสือเล่มอื่นๆ 
  4. มีการรวบรวมสรุปอย่างกว้างๆ
  5. มีการตัดสินอย่างเที่ยงธรรม ปราศจากอคติ ไม่มีความลำเอียงใดๆ
                     



















บทที่ 4
การประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ

ความหมายของการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ

          หมายถึง วิธีการที่ใช้เพื่อพิจารณาตัดสินคุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละรายการอย่างละเอียดถี่ถ้วน ว่ามีข้อดีหรือข้อบกพร่องอย่างไร และมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นแนวทางประกอบการพิจารณาตัดสินใจเลือกทรัพยากรสารสนเทศเข้าไว้บริการห้องสมุด

ความสำคัญของการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ

          ก่อนที่จะตัดสินใจจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้นเข้าห้องสมุด ควรมีการประเมินคุณค่าก่อน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทรัพยากรนั้นๆ ได้ผ่านการคัดเลือกและประเมินคุณค่าอย่างรอบคอบแล้วว่า เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าแก่การจัดหาเข้าห้องสมุดอย่างแท้จิง

วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ
  1. ทรัพยากรนั้นมีข้อดีและข้อบกพร่องอย่างไร
  2. ทรัพยากรนั้นมีคุณค่าและประโยชน์มากน้อยเพียงใด
  3. ทรัพยากรนั้นเหมาะสมแก่ใคร
  4. ทรัพยากรนั้นควรจัดหาเข้าห้องสมุดหรือไม่
ประโยชน์ของการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ
  1. เป็นแนวทางในการเลือกและจัดหาทรัพยากรเข้าห้องสมุด
  2. ใช้ประโยชน์ในการแนะนำผู้ใช้ห้องสมุด
  3. เป็นแนวทางในการเปรียบเทียบระดับคุณค่า
  4. ทำให้รู้จักทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ
หลักการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ
  1. หลักในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  2. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
  3. รู้จักใช้เครื่องมือในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  4. ทราบวัตถุประสงค์และนโยบายการเลือกและการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด
  5. ทราบวิธีการอ่านหนังสือเพื่อประเมินคุณค่า
  6. ทราบวิธีการบันทึกผลการประเมินคุณค่า
เกณฑ์ในการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ

  1. ผู้จัดทำ ความน่าเชื่อถือของผู้จัดทำเป็นข้อหนึ่งที่ควรพิจารณาโดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพและชื่อเสียงของบุคคลเหล่านั้นที่เป็นผู้เขียนหรือสำนักพิมพ์
  2. ขอบเขตของเนื้อหา ควรพิจารณาว่ามีเนื้อหาครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียนหรือไม่
  3. ความเหมาะสมกับกาลเวลา  หรือความทันสมัย ควรพิจารณาดูว่าทรัพยากรสารสนเทศนั้นจัดพิมพ์เมื่อใด ให้พิจารณาปีพิมพ์ล่าสุด
  4. ระดับผู้อ่าน  การจัดทำทรัพยากรสารสนเทศนั้นมีขอบเขตเนื้อหา วิธีการเขียนเหมาะสมสำหรับผู้อ่านระดับใด ผู้เขียนต้องการให้งานที่แต่งขึ้นตรงกับความสนใจของผู้อ่านหรือไม่
  5. การเรียบเรียงเนื้อหา ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อเรื่องได้ง่ายและรวดเร็วโดยมีสารบัญบรรณานุกรม และดรรชนีที่เหมาะสมกับการเรียบเรียงตามลำดับอักษร
  6. รูปแบบ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ควรพิจารณา โดยเฉพาะวัสดุไม่ตีพิมพ์จะพิจารณาจากเทคนิคและวิธีการผลิต โดยใช้วัสดุที่มีคุณภาพที่มีมาตรฐานสูงทนทานต่อการใช้งาน สำหรับสิ่งตีพิมพ์ควรพิจารณากระดาษที่จัดพิมพ์ ตลอดจนการเย็บเล่มมีภาพประกอบที่ชัดเจน มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน โสตทัศนวัสดุมึคุณภาพของเสียงและภาพชัดเจน
  7. ลักษณะพิเศษอื่นๆ ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภทถึงจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่จะมีลักษณะพิเศษอื่นๆ ที่เป็นลักษณะเด่น
















วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่3
การเลือกทรัพยากรสารสนเทศ


ความหมายของการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ


          การเลือกทรัพยากรสารสนเทศ เป็นกิจกรรมที่ทำขึ้นเพื่อตัดสินใจเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ตรงตามข้อกำหนดในแผนพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ 



ความสำคัญของการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ



          การเลือกทรัพยากรสานสรเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ ซึ่งจะต้องพิจารณา จัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่ามาไว้ในสถาบันบริการสารสนเทศ และให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ผู้เลือกควรมีความรู้พื้นฐานในวรรณกรรมที่เลือก ถ้าเลือกได้ถูกต้อง ชีวิตย่อมสุข สงบ แต่ถ้าเลือกผิดชีวิตย่อมเป็นไปในทางตรงข้าม สำหรับบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ การมีวิจารญาณในการเลือก เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะความสามารถในการเลือกหนังสือ เพราะการเลือกหนังสือเป็นหน้าที่สำคัญเกือบจะเป็นประการแรก ดังนั้นบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ ต้องมีความรู้และมีวิจารณญาณในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

          
ขอบเขตและลักษณะการเลือกมรัพยากรสารสนเทศ

  1. การเลือกทรัพยากรสารสนเทศสำหรับความจำเป็นในระยะยาว โดยมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาประกอบ ได้แก่ นโยบายของสถาบันบริการสารสนเทศ กลุ่มผู้ใช้ งบประมาณ เป็นต้น
  2. การเลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการในระยะสั้น การเลือกทั้งสองลักษณะต้องพิจารณาคุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศควบคู่ไปกับความต้องการของผู้ใช้



ปัจจัยที่ทำให้ต้องมีการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

  1. นโยบาย วัตถุประสงค์ และประเภทของของสมุด
  2. ผู้ใช้ห้องสมุด
  3. งบประมาณ
  4. คุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศและรสนิยมในการอ่าน
  5. ความเปลี่ยนแปลงทางสภาวะทางเศรษฐกิจ
  6. อาคาร สถานที่
  7. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
นโยบายในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

          เป็นการวางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเลือกทรัพยากรสารสนเทศชนิดต่างๆเข้าห้องสมุด ในการกำหนดนโยบายในการเลือกซื้อควรมีรายละเอียดดังนี้

  1. ผู้เลือก กำหนดว่ามีผู้ใดในการเลือกบ้าง เช่น บรรณารักา์ นักสารสนเทศ ครู อาจารย์ นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา
  2. วัตถุประสงค์ในการเลือก จะต้องกำหนดให้ชัดเจน และตรงตามหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา
  3. วิธีการเลือกและพิจารณาคุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศ
  4. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
  5. สาขาวิชา
  6. ภาษา
  7. จำนวนฉบับ
ผู้ที่เกียวข้องกับการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  1. บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ใช้มากที่สุด จะทราบถึงปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรสารสนเทศ และรวมถึงวัตถุประสงค์ของห้องสมุด
  2. ผู้บริหาร เป็นบุคคลที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และช่วยสนับสนุนในการดำเนินงานของห้องสมุดไปด้วยดี
  3. อาจารย์ผู้สอน เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่สอนในสาขาวิชาต่างๆ
  4. นักวิจัยและนักวิชาการ เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสถาบันที่ห้องสมุดสังกัด ทำหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้าและวิจัยคิดค้นเรื่องใหม่ๆ
  5. คณะกรรมการห้องสมุด ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ วางนโยบาย ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานห้องสมุด
  6. ผู้ใช้ห้องสมุด สถาบันสารสนเทศหรือห้องสมุดส่วนใหญ่มักจะให้ผู้ใช้เสนอความต้องการที่ตนเองต้องการใช้
คุณสมบัติของผู้เลือกทรัพยากรสารสนเทศ

  1. เป็นนักอ่าน อ่านอย่างสม่ำเสมอ อ่านทุกอย่าง อ่านทุกประเภท
  2. มีวิจารณญาณที่ดี ถูกต้อง เหมาะสม
  3. มีพื้นความรู้ทางวิชาการอย่างกว้างขวาง
  4. มีความรู้เกี่ยวกับวงผลิตและแหล่งจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศ
  5. มีความรู้เกี่ยวกับคู่มือประกอบการเลือก
  6. เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี
  7. มีความรู้เกี่ยวกับการเลือก
  8. มีความจำดีและมีความคิดรู้จักใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในการทำงาน
  9. เป็นผู้ที่มีความฉลาด เฉียบแหลม มีความรอบรู้หูตาไว และมีความกล้าหาญ ซื่อสัตย์ สุจริต
หลักทั่วไปในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  1. เลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้  มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ ถ้าเป็นห้องสมุดในชุมชนต้องคำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ และวัฒนธรรมประเพณีของผู้ใช้ในท้องถิ่น
  2. เลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของห้องสมุดแต่ละประเภท 
  3. เลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ นโยบาย และหลักสูตรของสถาบัน 
  4. เลือกทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าสูงและได้มาตรฐาน สาเหตุที่ต้องเลือกมีดังนี้
                    4.1 เนื่องด้วยห้องสมุดเป็นแหล่งส่งเสริมและพัฒนาสติปัญญา ความรู้ ความคิด จึงต้องมีวัสดุที่มีคุณค่าเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
                    4.2 ห้องสมุดมีหน้าที่รับผิดชอบในการปรับปรุงรสนิยมในการอ่านของผู้ใช้ห้องสมุด
                    4.3 ความสนใจของผู้อ่านหนังสือบางเล่มไม่ยั่งยืนเป็นเสมือนแฟชั่นอย่างหนึ่งในช่วงเวลานั้น

       5. คำนึงถึงเรื่องงบประมาณและจัดแบ่งงบประมาณ เพื่อการจัดซื้อให้ได้สัดส่วนตามความตองการของผู้ใช้ บรรณารักษ์ต้องสำรวจที่มีอยู่และคำนึงสิ่งต่อไปนี้
                   
                    5.1 หนังสือที่อาจารย์และผู้เรียนต้องการให้จัดหาเพิ่ม
                    5.2 หนังสือในสาขาที่มีน้อยและต้องการเพิ่ม
                    5.3 หนังสือที่ชำรุดเสียหายและต้องการจัดหามาแทน
                    5.4 หนังสือในหลักสูตรที่ต้องมีวัสดุพิเศษ เช่น ต้นฉบับตัวเขียน หนังสือหายาก 

        6. วางใจเป็นกลางในการเลือกซื้อ ทั้งนี้ต้องพิจารณาในแง่คุณค่า โดยยึดหลักการเป็นสำคัญ
        7. เลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาประกอบการเลือกซื้อและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

        8. เลือกทรัพยากรสารสนเทศที่ผลิตออกมาใหม่ๆ ซึ่งมักจะมีเนื้อหาที่ทันสมัยและทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ

การเลือกทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดประเภทต่างๆ

  1. ห้องสมุดขนาดเล็ก อาจมีบรรณารักษืเป็นผู้เลือกทรัพยากรสารสนเทศที่มีผู้เสนอแนะมากับพิจารณาเลือกตามที่บรรณารักษ์เห็นสมควร
  2. ห้องสมุดขนาดใหญ่ เป็นห้องสมุดที่มีสาขาแยกไปตั้งในสถานที่ต่างๆ การเลือกทรัพยากรสารสนเทศจัดทำในรูปของคณะกรรมการ และมีผู้ประสานงาน
ข้อควรคำนึงในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  1. สำรวจจำนวนและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่
  2. ตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  3. สำรวจตลาดหนังสืออย่างสม่ำเสมอด้วยตัวเองให้ทั่วถึง
  4. ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวในวงการทรัพยากรสารสนเทศ
  5. เชิญครู อาจารย์ หรือบุคลากรในหน่วยงาน ไปเลือกหนังสือจากสำนักพิมพ์หรือร้านจำหน่าย
  6. บรรณารักษืควรศึกษาถึงแผนพัฒนาและโครงการในอนาคตของหน่วยงานที่ห้องสมุดสังกัดอยู่



















วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ

          หมายถึง วัสดุที่บันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ไว้ในสื่อรูปแบบต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมและสัมผัสได้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และความบันเทิง

ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

          แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
          1. วัสดุตีพิมพ์ (Printed  materials) หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศไว้บนแผ่นกระดาษเป็นหลัก และสื่อความหมายด้วยตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้
  • หนังสือ (book)
  • วารสารและนิตยสาร (Periodicals)
  • หนังสือพิมพ์ (Newspapers) 
  • จุลสาร (Pamphlets)
  • กฤตภาค (Clippings)
          2. วัสดุไม่ตีพิมพ์ (Non-Printed  materials) หมายถึง วัสดุที่บันทึกและถ่ายทอดสารสนเทศด้วยสัญลักษณ์ ภาพ แสง สี เสียง โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้
  • โสตทัศนวัสดุ (Audio-visual materials)
  • วัสดุย่อส่วน (Microfilms)
  • สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic media)
ความสำคัญของทรัพยากรสารสนเทศต่อห้องสมุด

          1. ห้องสมุดโรงเรียน (School library) จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายหลักสูตรที่วางไว้ และสร้างพื้นฐานในการรู้จักใช้ห้องสมุดประเภทอื่นๆต่อไป
          2. ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (Academic library) จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา และเป็นแหล่งทำวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา
          3. ห้องสมุดเฉพาะ (Special library) จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศเฉพาะด้านแก่องค์กรหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
          4. ห้องสมุดประชาชน (Public library) จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย โดยไม่คิดค่าบริการหรือเสียค่าบริการน้อยมาก
          5. ห้องสมุดแห่งชาติ (National library) จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่ผลิตในประเทศที่ได้รับตามกฏหมายของแต่ละประเทศ
ชี่ยวชช

ความเป็นมาของทรัพยากรสารสนเทศ

          ห้องสมุดมีขนาดใหญ่เท่าใดยิ่งจะเป็นห้องสมุดที่ดี ทำให้ห้องสมุดต้องคำนึงถึงกระบวนการจัดหาทรัพยากรเข้าห้องสมุดมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณภาพ จึงต้องมีตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา และนักบรรณานุกรมเฉพาะสาขาในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เพื่อทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับอาจารย์ ตัดสินใจเลือก และจัดหาหนังสือสาขาต่างๆ รวมทั้งความร่วมมือกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด ได้แก่ ผู้ใช้ และบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ สนองความต้องการและบริบทของผู้ใช้และสอดคล้องกับสภาพห้องสมุดมากที่สุด

กิจกรรมของการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
       
          มี 3 ขั้นตอนและแต่ละขั้นตอนประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
         1.1 การศึกษาผู้ใช้ (Community analysis)
         1.2 การจัดทำนโยบายการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (Selection policies)
ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินงาน ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
          2.1 การเลือกทรัพยากรสารสนเทศ (Selection)
          2.2 การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (Acquisition)
ขั้นตอนที่ 3 การประเมิน ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
          3.1 การคัดทรัพยากรสารสนเทศออก (Deselection)
          3.2 การประเมินทรัพยากรสารสนเทศ (Evaluation)

ความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

          1. ด้านคุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศ
          2. ด้านการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
          3. ด้านงานบริการ
          4. ความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงาน

คุณสมบัติของบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ ผู้ทำหน้าที่พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

          1. เป็นผู้รักการอ่าน มีนิสัยใฝ่รู้ และมีความรู้ทางวิชาการ
          2. มีวิจารณญาณที่ดี ถูกต้อง เหมาะสม และไม่มีอคติในการเลือก
          3. มีความคิดริเริ่ม ทักษะ และเข้าใจงาน
          4. มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
          5. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใช้และเข้าใจความต้องการของผู้ใช้
          6. มีความรู้ด้านการบริหาร เพื่อสามารถประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
          7. ได้รับการฝึกฝนในงานด้านธุรการตามสมควร
          8. มีความรู้เกี่ยวกับการผลิต
          9. รู้และเข้าใจวัตถุประสงค์และนโยบายของห้องสมุด
          10. มีความรู้เกี่ยวกับกฏหมายและระเบียบข้องบังคับด้านการพิมพ์



บทที่2 การวางแผนการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ


          การวางแผนทรัพยากรสารสนเทศ เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ โดยประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การศึกษาผู้ใช้ และ การจัดทำนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

การศึกษาผู้ใช้

          การศึกผู้ใช้ เป็นการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล การใช้ และความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ้งข้อมูลเหล่านี้ทำให้รู้จักเข้าใจ และทราบความต้องการของผู้ใช้มากขึ้นและนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน และการจัดทำนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมต่อไป

วัตถุประสงค์การศึกษาผู้ใช้

  1. เพื่อให้ห้องสมุดเลือกและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ตามความต้องการผู้ใช้
  2. เพื่อเพิ่มปริมาณของผู้เข้าใช้ห้องสมุด
  3. เพื่อให้ทรัพยากรที่จัดหามาได้ถูกนำไปใช้อย่างคุ้มค่าเกืดประโยชน์สูงสุด
  4. เพื่อให้บริการของห้องสมุดอยู่ในความน่าสนใจของผู้ใช้อยู่เสมอ
  5. เพื่อให้การใช้งบประมาณที่มีอยู่ในวงจำกัดได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า โดยยึดหลัก "ประโยชน์สูง ประหยัดสุด"
วิธีการเก็บและรวบรวมข้อมูลการศึกษาผู้ใช้

1. การเก็บและรวบรวมข้อมูลทางตรง

          1.1 การรวบรวมจากแบบสอบถาม
          1.2 การสอบถาม / สัมภาษณ์ผู้ใช้โดยตรง
          1.3 การให้ผู้ใช้เสนอรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการให้ห้องสมุดจัดหาให้

2. การเก็บและรวบรวมข้อมูลทางอ้อม

          2.1 การสังเกตการณ์
          2.2 การวิเคราะห์สถิติที่ห้องสมุดเก็บรวบรวมไว้
          2.3 การอ้างอิงในเอกสาร

ขั้นตอนการดำเนินงานการศึกษาผู้ใช้

  1. กำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตในการศึกษาผู้ใช้อย่างชัดเจน
  2. เลือกวิธีการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
  3. จัดทำแผนดำเนินงานที่แน่ชัดและสามารถปฏิบัติได้
  4. ดำเนินงานรวบรวมข้อมูลตามแผนที่กำหนดไว้อย่างเป็นขั้นตอน
  5. วิเคราะห์และตีความข้อมูลที่ได้จากการศึกษา
  6. จัดทำรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
  7. นำผลการศึกษาผู้ใช้ไปเป็นข้อมูลในนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ


การจัดทำนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

          เป็นรายละเอียดที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการเลือก และจัดหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดโดยเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งการระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ซึ่งมีความสำคัญดังนี้

  1. ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ใช้เป็นแนวทางในการเลือก การจัดหา และการเลือก
  2. ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สามารถจัดสรรงบประมาณในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ห้องสมุดสามารถควบคุมการเพิ่มจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่จำเป็น
  4. ห้องสมุดสามารถขอความร่วมมือกับห้องสมุดอื่น เพื่อการจัดหาและใช้สารสนเทศร่วมกัน

รายละเอียดนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

  1. วัตถุประสงค์ของการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ควรให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของห้องสมุดและความต้องการของผู้ใช้
  2. ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
  3. เกณฑ์ในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านผู้แต่ง/และผู้จัดทำ
  4. งบประมาณ
  5. คู่มือหรือแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการคัดเลือก
  6. การบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
  7. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
ขั้นตอนในการจัดทำนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

  1. จัดตั้งคณะกรรมการ
  2. รวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ
  3. เขียนนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษร
  4. เสนอนโยบายเพื่อขอความเห็นชอบ
  5. ประกาศใช้นโยบาย