วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 5 
เครื่องมือช่วยในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ


ความหมายของเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

          หมายถึง เครื่องมือหรือคู่มือประกอบวิชาชีพของบุคลากรสารสนเทศ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปฏิบัติงานเลือกทรัพยากรสารสนเทศไว้ในสถาบันบริการสารสนเทศอย่างเหมาะสม และสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้

ความสำคัญของเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  1. ช่วยให้สามารถติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศ
  2. สามารถติดตามข้อมูลการผลิตและจำหน่ายออก และแลกเปลี่ยนทรัพยากรได้จากแหล่งข้อมูลกลาง
  3. เป็นเครื่องมือในการเลือกซื้อ ให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ เช่น การวิจารณ์หนังสือ
  4. เป็นเครื่องมือในการจัดหา ให้ข้อมูลประกอบการจัดหา คือ ข้อมูลทางบรรณานุกรม
  5. เป็นบัญชีตรวจสอบ และเปรียบเทียบความสมบูรณ์ของทรัพยากรสารสนเทศ
ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  1. บรรณานุกรม 
                เป็นการรวบรวมชื่อหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ จัดทำโดยห้องสมุดขนาดใหญ่ๆ บรรณานุกรมของหนังสือแต่ละรายการจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า ราคา (ถ้ามี) หมายเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) และอาจมี 
บรรณานิทัศน์ประกอบด้วย

      2. บรรณานิทัศน์
                  เป็นการสรุปสาระสำคัญของเนื้อเรื่องของเอกสารสิ่งพิมพ์ เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักสิ่งพิมพ์เล่มนั้นๆ โดยสังเขปว่ามีเนื้อหาสาระน่าสนใจหรือมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด สมควรที่จะซื้ออ่านหรือไม่ บรรณานิทัศน์ที่ดีควรใช้ถ้อยคำสั้น รัดกุมได้ตรงตามจุดหมาย ไม่พูดซ้ำซาก มีข้อความสละสลวยน่าอ่าน มีศิลปะในการเขียนที่สามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจ ที่สำคัญคือข้อความนั้นจะต้องถูกต้องตามเนื้อหาสาระของเรื่องและความยาวพอเหมาะ จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ดีและตรงตามวัตถุประสงค์

        3. คอลัมน์แนะนำหนังสือและบทวิจารณ์หนังสือ

                   คอลัมน์แนะนำหนังสือหรือบทวิจารณ์หนังสือที่ปรากฏในหน้าวารสารหรือหนังสือพิมพ์ มักเป็นคอลัมน์ประจำในทุกฉบับที่ออกจำหน่าย โดยมีชื่อคอลัมน์ที่แตกต่างกันออกไป
                   วิจารญ์หนังสือ เป็นการเขียนเล่าเรื่องและแสดงข้อคิดเห็น โดยสังเขปเกี่ยวกับหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง บทวิจารณ์หนังสือจะช่วยประหยัดเวลาในการอ่าน ใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกและจัดหน้าหนังสือกรณีที่ไม่มีโอกาสเห็นตัวเล่มหนังสือ

                ลักษณะของบทวิจารณ์หนังสือที่ดี
  1. ควรมีแบบแผนในการเขียนที่ดี และแสดงความคิดเห็นออกมาอย่างง่ายๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เป็นการวิจารณ์ที่เชื่อถือได้ ควรวิจารณ์โดยผู้ที่อ่านหนังสือนั้นจริงๆ และมีความรู้ในสาขาที่วิจารณ์
  3. ควรมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหนังสือเล่มอื่นๆ 
  4. มีการรวบรวมสรุปอย่างกว้างๆ
  5. มีการตัดสินอย่างเที่ยงธรรม ปราศจากอคติ ไม่มีความลำเอียงใดๆ
                     



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น