วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่3
การเลือกทรัพยากรสารสนเทศ


ความหมายของการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ


          การเลือกทรัพยากรสารสนเทศ เป็นกิจกรรมที่ทำขึ้นเพื่อตัดสินใจเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ตรงตามข้อกำหนดในแผนพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ 



ความสำคัญของการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ



          การเลือกทรัพยากรสานสรเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ ซึ่งจะต้องพิจารณา จัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่ามาไว้ในสถาบันบริการสารสนเทศ และให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ผู้เลือกควรมีความรู้พื้นฐานในวรรณกรรมที่เลือก ถ้าเลือกได้ถูกต้อง ชีวิตย่อมสุข สงบ แต่ถ้าเลือกผิดชีวิตย่อมเป็นไปในทางตรงข้าม สำหรับบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ การมีวิจารญาณในการเลือก เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะความสามารถในการเลือกหนังสือ เพราะการเลือกหนังสือเป็นหน้าที่สำคัญเกือบจะเป็นประการแรก ดังนั้นบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ ต้องมีความรู้และมีวิจารณญาณในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

          
ขอบเขตและลักษณะการเลือกมรัพยากรสารสนเทศ

  1. การเลือกทรัพยากรสารสนเทศสำหรับความจำเป็นในระยะยาว โดยมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาประกอบ ได้แก่ นโยบายของสถาบันบริการสารสนเทศ กลุ่มผู้ใช้ งบประมาณ เป็นต้น
  2. การเลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการในระยะสั้น การเลือกทั้งสองลักษณะต้องพิจารณาคุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศควบคู่ไปกับความต้องการของผู้ใช้



ปัจจัยที่ทำให้ต้องมีการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

  1. นโยบาย วัตถุประสงค์ และประเภทของของสมุด
  2. ผู้ใช้ห้องสมุด
  3. งบประมาณ
  4. คุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศและรสนิยมในการอ่าน
  5. ความเปลี่ยนแปลงทางสภาวะทางเศรษฐกิจ
  6. อาคาร สถานที่
  7. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
นโยบายในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

          เป็นการวางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเลือกทรัพยากรสารสนเทศชนิดต่างๆเข้าห้องสมุด ในการกำหนดนโยบายในการเลือกซื้อควรมีรายละเอียดดังนี้

  1. ผู้เลือก กำหนดว่ามีผู้ใดในการเลือกบ้าง เช่น บรรณารักา์ นักสารสนเทศ ครู อาจารย์ นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา
  2. วัตถุประสงค์ในการเลือก จะต้องกำหนดให้ชัดเจน และตรงตามหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา
  3. วิธีการเลือกและพิจารณาคุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศ
  4. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
  5. สาขาวิชา
  6. ภาษา
  7. จำนวนฉบับ
ผู้ที่เกียวข้องกับการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  1. บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ใช้มากที่สุด จะทราบถึงปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรสารสนเทศ และรวมถึงวัตถุประสงค์ของห้องสมุด
  2. ผู้บริหาร เป็นบุคคลที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และช่วยสนับสนุนในการดำเนินงานของห้องสมุดไปด้วยดี
  3. อาจารย์ผู้สอน เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่สอนในสาขาวิชาต่างๆ
  4. นักวิจัยและนักวิชาการ เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสถาบันที่ห้องสมุดสังกัด ทำหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้าและวิจัยคิดค้นเรื่องใหม่ๆ
  5. คณะกรรมการห้องสมุด ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ วางนโยบาย ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานห้องสมุด
  6. ผู้ใช้ห้องสมุด สถาบันสารสนเทศหรือห้องสมุดส่วนใหญ่มักจะให้ผู้ใช้เสนอความต้องการที่ตนเองต้องการใช้
คุณสมบัติของผู้เลือกทรัพยากรสารสนเทศ

  1. เป็นนักอ่าน อ่านอย่างสม่ำเสมอ อ่านทุกอย่าง อ่านทุกประเภท
  2. มีวิจารณญาณที่ดี ถูกต้อง เหมาะสม
  3. มีพื้นความรู้ทางวิชาการอย่างกว้างขวาง
  4. มีความรู้เกี่ยวกับวงผลิตและแหล่งจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศ
  5. มีความรู้เกี่ยวกับคู่มือประกอบการเลือก
  6. เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี
  7. มีความรู้เกี่ยวกับการเลือก
  8. มีความจำดีและมีความคิดรู้จักใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในการทำงาน
  9. เป็นผู้ที่มีความฉลาด เฉียบแหลม มีความรอบรู้หูตาไว และมีความกล้าหาญ ซื่อสัตย์ สุจริต
หลักทั่วไปในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  1. เลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้  มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ ถ้าเป็นห้องสมุดในชุมชนต้องคำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ และวัฒนธรรมประเพณีของผู้ใช้ในท้องถิ่น
  2. เลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของห้องสมุดแต่ละประเภท 
  3. เลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ นโยบาย และหลักสูตรของสถาบัน 
  4. เลือกทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าสูงและได้มาตรฐาน สาเหตุที่ต้องเลือกมีดังนี้
                    4.1 เนื่องด้วยห้องสมุดเป็นแหล่งส่งเสริมและพัฒนาสติปัญญา ความรู้ ความคิด จึงต้องมีวัสดุที่มีคุณค่าเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
                    4.2 ห้องสมุดมีหน้าที่รับผิดชอบในการปรับปรุงรสนิยมในการอ่านของผู้ใช้ห้องสมุด
                    4.3 ความสนใจของผู้อ่านหนังสือบางเล่มไม่ยั่งยืนเป็นเสมือนแฟชั่นอย่างหนึ่งในช่วงเวลานั้น

       5. คำนึงถึงเรื่องงบประมาณและจัดแบ่งงบประมาณ เพื่อการจัดซื้อให้ได้สัดส่วนตามความตองการของผู้ใช้ บรรณารักษ์ต้องสำรวจที่มีอยู่และคำนึงสิ่งต่อไปนี้
                   
                    5.1 หนังสือที่อาจารย์และผู้เรียนต้องการให้จัดหาเพิ่ม
                    5.2 หนังสือในสาขาที่มีน้อยและต้องการเพิ่ม
                    5.3 หนังสือที่ชำรุดเสียหายและต้องการจัดหามาแทน
                    5.4 หนังสือในหลักสูตรที่ต้องมีวัสดุพิเศษ เช่น ต้นฉบับตัวเขียน หนังสือหายาก 

        6. วางใจเป็นกลางในการเลือกซื้อ ทั้งนี้ต้องพิจารณาในแง่คุณค่า โดยยึดหลักการเป็นสำคัญ
        7. เลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาประกอบการเลือกซื้อและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

        8. เลือกทรัพยากรสารสนเทศที่ผลิตออกมาใหม่ๆ ซึ่งมักจะมีเนื้อหาที่ทันสมัยและทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ

การเลือกทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดประเภทต่างๆ

  1. ห้องสมุดขนาดเล็ก อาจมีบรรณารักษืเป็นผู้เลือกทรัพยากรสารสนเทศที่มีผู้เสนอแนะมากับพิจารณาเลือกตามที่บรรณารักษ์เห็นสมควร
  2. ห้องสมุดขนาดใหญ่ เป็นห้องสมุดที่มีสาขาแยกไปตั้งในสถานที่ต่างๆ การเลือกทรัพยากรสารสนเทศจัดทำในรูปของคณะกรรมการ และมีผู้ประสานงาน
ข้อควรคำนึงในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  1. สำรวจจำนวนและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่
  2. ตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  3. สำรวจตลาดหนังสืออย่างสม่ำเสมอด้วยตัวเองให้ทั่วถึง
  4. ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวในวงการทรัพยากรสารสนเทศ
  5. เชิญครู อาจารย์ หรือบุคลากรในหน่วยงาน ไปเลือกหนังสือจากสำนักพิมพ์หรือร้านจำหน่าย
  6. บรรณารักษืควรศึกษาถึงแผนพัฒนาและโครงการในอนาคตของหน่วยงานที่ห้องสมุดสังกัดอยู่



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น