วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 6 
ความเคลื่อนไหวในวงการทรัพยากรสารสนเทศ


องค์ประกอบในวงการผลิตและจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศ แบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้
  1. ผู้ผลิต หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำให้มีทรัพยากรสารสนเทศเกิดขึ้น โดยอาศัยแรงงานหรือเครื่องจักร ได้แก่
                  1.1 ผู้แต่ง (author) คือ ผู้สร้างสรรค์ผลงานออกมาในลักษณะต้นฉบับของทรัพยากรสารสนเทศ ผู้แต่งอาจเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคน และมีชื่อเสียงทางใดทางหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อที่จะได้ทราบแนวการเขียน
                   1.2 สำนักพิมพ์ และโรงพิมพ์ สำนักพิมพ์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการสร้างสรรค์วรรณกรรมต่างๆ ทำหน้าที่รวบรวมผู้เขียน สร้างผลงาน และรวบรวมผลงานของผู้เขียน โรงพิมพ์และสำนักพิมพ์มีความแตกต่างกันคือ โรงพิมพ์มีหน้าที่พิมพ์ต้นฉบับและการเย็บปกเข้าเล่มเท่านั้น ส่วนสำนักพิมพ์จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการค้นเพื่อเลือกต้นฉบับ ซึ่งอาจจะพิมพ์เองหรือจ้างให้โรงพิมพ์อื่นพิมพ์ให้ก็ได้

       2.  ผู้จัดจำหน่าย หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่จำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการผลิตจาก                 โรงพิมพ์ ผู้จัดจำหน่ายถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในวงการผลิตและจำหน่ายทรัพยากร                       สารสนเทศ เพราะเป็นผู้ที่กระจายสิ่งพิมพ์ไปสู่ผู้บริโภคได้เร็ว ผู้จัดจำหน่ายแบ่งออกเป็น 3                       ประเภท คือ

                    2.1 ผู้ผลิต คือ ผู้แต่งและสำนักพิมพ์ โดยอาศัยทุนจากการสนับสนุนของหน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน สมาคม สถาบันศึกษา หรือทุนส่วนตัว อาจทำหน้าที่จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง ส่วนสำนักพิมพ์นอกจากทำหน้าที่ผลิตแล้วยังอาจทำหน้าที่จำหน่ายด้วย
                    2.2  ผู้จัดจำหน่ายหรือตัวแทนจำหน่าย ทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่จะได้สิ่งพิมพ์จากผู้ผลิต โดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้ผลิตหรือสำนักพิมพ์นั้นๆ
                    2.3  ผู้จัดจำหน่ายปลีก คือ ร้านค้าที่รับสิ่งพิมพ์จากผู้ผลิต เพื่อนำไปขายปลีกแก่ผู้ซื้อ

          3.  ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งจะทำธุรกิจสิ่งพิมพ์หรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆให้อยู่รอด
          4.  องค์กรที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการผลิตและการจำหน่ายสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในวงการผลิตและจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศ และทำให้เกิดความร่วมมือในด้านการผลิตการส่งเสริมผลงานและด้านการจำหน่าย

องค์กรที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายสารสนเทศ

  1. สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
  2. สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  3. สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
  4. สมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย
  5. สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายแห่งประเทศไทย
  6. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์
  7. งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ
  8. รางวัลวรรณกรรมในประเทศไทย
  9. รางวัลวรรณกรรมในต่างประเทศ



          












บทที่ 5 
เครื่องมือช่วยในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ


ความหมายของเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

          หมายถึง เครื่องมือหรือคู่มือประกอบวิชาชีพของบุคลากรสารสนเทศ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปฏิบัติงานเลือกทรัพยากรสารสนเทศไว้ในสถาบันบริการสารสนเทศอย่างเหมาะสม และสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้

ความสำคัญของเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  1. ช่วยให้สามารถติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศ
  2. สามารถติดตามข้อมูลการผลิตและจำหน่ายออก และแลกเปลี่ยนทรัพยากรได้จากแหล่งข้อมูลกลาง
  3. เป็นเครื่องมือในการเลือกซื้อ ให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ เช่น การวิจารณ์หนังสือ
  4. เป็นเครื่องมือในการจัดหา ให้ข้อมูลประกอบการจัดหา คือ ข้อมูลทางบรรณานุกรม
  5. เป็นบัญชีตรวจสอบ และเปรียบเทียบความสมบูรณ์ของทรัพยากรสารสนเทศ
ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  1. บรรณานุกรม 
                เป็นการรวบรวมชื่อหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ จัดทำโดยห้องสมุดขนาดใหญ่ๆ บรรณานุกรมของหนังสือแต่ละรายการจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า ราคา (ถ้ามี) หมายเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) และอาจมี 
บรรณานิทัศน์ประกอบด้วย

      2. บรรณานิทัศน์
                  เป็นการสรุปสาระสำคัญของเนื้อเรื่องของเอกสารสิ่งพิมพ์ เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักสิ่งพิมพ์เล่มนั้นๆ โดยสังเขปว่ามีเนื้อหาสาระน่าสนใจหรือมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด สมควรที่จะซื้ออ่านหรือไม่ บรรณานิทัศน์ที่ดีควรใช้ถ้อยคำสั้น รัดกุมได้ตรงตามจุดหมาย ไม่พูดซ้ำซาก มีข้อความสละสลวยน่าอ่าน มีศิลปะในการเขียนที่สามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจ ที่สำคัญคือข้อความนั้นจะต้องถูกต้องตามเนื้อหาสาระของเรื่องและความยาวพอเหมาะ จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ดีและตรงตามวัตถุประสงค์

        3. คอลัมน์แนะนำหนังสือและบทวิจารณ์หนังสือ

                   คอลัมน์แนะนำหนังสือหรือบทวิจารณ์หนังสือที่ปรากฏในหน้าวารสารหรือหนังสือพิมพ์ มักเป็นคอลัมน์ประจำในทุกฉบับที่ออกจำหน่าย โดยมีชื่อคอลัมน์ที่แตกต่างกันออกไป
                   วิจารญ์หนังสือ เป็นการเขียนเล่าเรื่องและแสดงข้อคิดเห็น โดยสังเขปเกี่ยวกับหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง บทวิจารณ์หนังสือจะช่วยประหยัดเวลาในการอ่าน ใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกและจัดหน้าหนังสือกรณีที่ไม่มีโอกาสเห็นตัวเล่มหนังสือ

                ลักษณะของบทวิจารณ์หนังสือที่ดี
  1. ควรมีแบบแผนในการเขียนที่ดี และแสดงความคิดเห็นออกมาอย่างง่ายๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เป็นการวิจารณ์ที่เชื่อถือได้ ควรวิจารณ์โดยผู้ที่อ่านหนังสือนั้นจริงๆ และมีความรู้ในสาขาที่วิจารณ์
  3. ควรมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหนังสือเล่มอื่นๆ 
  4. มีการรวบรวมสรุปอย่างกว้างๆ
  5. มีการตัดสินอย่างเที่ยงธรรม ปราศจากอคติ ไม่มีความลำเอียงใดๆ
                     



















บทที่ 4
การประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ

ความหมายของการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ

          หมายถึง วิธีการที่ใช้เพื่อพิจารณาตัดสินคุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละรายการอย่างละเอียดถี่ถ้วน ว่ามีข้อดีหรือข้อบกพร่องอย่างไร และมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นแนวทางประกอบการพิจารณาตัดสินใจเลือกทรัพยากรสารสนเทศเข้าไว้บริการห้องสมุด

ความสำคัญของการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ

          ก่อนที่จะตัดสินใจจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้นเข้าห้องสมุด ควรมีการประเมินคุณค่าก่อน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทรัพยากรนั้นๆ ได้ผ่านการคัดเลือกและประเมินคุณค่าอย่างรอบคอบแล้วว่า เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าแก่การจัดหาเข้าห้องสมุดอย่างแท้จิง

วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ
  1. ทรัพยากรนั้นมีข้อดีและข้อบกพร่องอย่างไร
  2. ทรัพยากรนั้นมีคุณค่าและประโยชน์มากน้อยเพียงใด
  3. ทรัพยากรนั้นเหมาะสมแก่ใคร
  4. ทรัพยากรนั้นควรจัดหาเข้าห้องสมุดหรือไม่
ประโยชน์ของการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ
  1. เป็นแนวทางในการเลือกและจัดหาทรัพยากรเข้าห้องสมุด
  2. ใช้ประโยชน์ในการแนะนำผู้ใช้ห้องสมุด
  3. เป็นแนวทางในการเปรียบเทียบระดับคุณค่า
  4. ทำให้รู้จักทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ
หลักการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ
  1. หลักในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  2. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
  3. รู้จักใช้เครื่องมือในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  4. ทราบวัตถุประสงค์และนโยบายการเลือกและการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด
  5. ทราบวิธีการอ่านหนังสือเพื่อประเมินคุณค่า
  6. ทราบวิธีการบันทึกผลการประเมินคุณค่า
เกณฑ์ในการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ

  1. ผู้จัดทำ ความน่าเชื่อถือของผู้จัดทำเป็นข้อหนึ่งที่ควรพิจารณาโดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพและชื่อเสียงของบุคคลเหล่านั้นที่เป็นผู้เขียนหรือสำนักพิมพ์
  2. ขอบเขตของเนื้อหา ควรพิจารณาว่ามีเนื้อหาครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียนหรือไม่
  3. ความเหมาะสมกับกาลเวลา  หรือความทันสมัย ควรพิจารณาดูว่าทรัพยากรสารสนเทศนั้นจัดพิมพ์เมื่อใด ให้พิจารณาปีพิมพ์ล่าสุด
  4. ระดับผู้อ่าน  การจัดทำทรัพยากรสารสนเทศนั้นมีขอบเขตเนื้อหา วิธีการเขียนเหมาะสมสำหรับผู้อ่านระดับใด ผู้เขียนต้องการให้งานที่แต่งขึ้นตรงกับความสนใจของผู้อ่านหรือไม่
  5. การเรียบเรียงเนื้อหา ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อเรื่องได้ง่ายและรวดเร็วโดยมีสารบัญบรรณานุกรม และดรรชนีที่เหมาะสมกับการเรียบเรียงตามลำดับอักษร
  6. รูปแบบ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ควรพิจารณา โดยเฉพาะวัสดุไม่ตีพิมพ์จะพิจารณาจากเทคนิคและวิธีการผลิต โดยใช้วัสดุที่มีคุณภาพที่มีมาตรฐานสูงทนทานต่อการใช้งาน สำหรับสิ่งตีพิมพ์ควรพิจารณากระดาษที่จัดพิมพ์ ตลอดจนการเย็บเล่มมีภาพประกอบที่ชัดเจน มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน โสตทัศนวัสดุมึคุณภาพของเสียงและภาพชัดเจน
  7. ลักษณะพิเศษอื่นๆ ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภทถึงจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่จะมีลักษณะพิเศษอื่นๆ ที่เป็นลักษณะเด่น
















วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่3
การเลือกทรัพยากรสารสนเทศ


ความหมายของการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ


          การเลือกทรัพยากรสารสนเทศ เป็นกิจกรรมที่ทำขึ้นเพื่อตัดสินใจเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ตรงตามข้อกำหนดในแผนพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ 



ความสำคัญของการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ



          การเลือกทรัพยากรสานสรเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ ซึ่งจะต้องพิจารณา จัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่ามาไว้ในสถาบันบริการสารสนเทศ และให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ผู้เลือกควรมีความรู้พื้นฐานในวรรณกรรมที่เลือก ถ้าเลือกได้ถูกต้อง ชีวิตย่อมสุข สงบ แต่ถ้าเลือกผิดชีวิตย่อมเป็นไปในทางตรงข้าม สำหรับบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ การมีวิจารญาณในการเลือก เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะความสามารถในการเลือกหนังสือ เพราะการเลือกหนังสือเป็นหน้าที่สำคัญเกือบจะเป็นประการแรก ดังนั้นบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ ต้องมีความรู้และมีวิจารณญาณในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

          
ขอบเขตและลักษณะการเลือกมรัพยากรสารสนเทศ

  1. การเลือกทรัพยากรสารสนเทศสำหรับความจำเป็นในระยะยาว โดยมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาประกอบ ได้แก่ นโยบายของสถาบันบริการสารสนเทศ กลุ่มผู้ใช้ งบประมาณ เป็นต้น
  2. การเลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการในระยะสั้น การเลือกทั้งสองลักษณะต้องพิจารณาคุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศควบคู่ไปกับความต้องการของผู้ใช้



ปัจจัยที่ทำให้ต้องมีการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

  1. นโยบาย วัตถุประสงค์ และประเภทของของสมุด
  2. ผู้ใช้ห้องสมุด
  3. งบประมาณ
  4. คุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศและรสนิยมในการอ่าน
  5. ความเปลี่ยนแปลงทางสภาวะทางเศรษฐกิจ
  6. อาคาร สถานที่
  7. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
นโยบายในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ

          เป็นการวางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเลือกทรัพยากรสารสนเทศชนิดต่างๆเข้าห้องสมุด ในการกำหนดนโยบายในการเลือกซื้อควรมีรายละเอียดดังนี้

  1. ผู้เลือก กำหนดว่ามีผู้ใดในการเลือกบ้าง เช่น บรรณารักา์ นักสารสนเทศ ครู อาจารย์ นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา
  2. วัตถุประสงค์ในการเลือก จะต้องกำหนดให้ชัดเจน และตรงตามหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา
  3. วิธีการเลือกและพิจารณาคุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศ
  4. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
  5. สาขาวิชา
  6. ภาษา
  7. จำนวนฉบับ
ผู้ที่เกียวข้องกับการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  1. บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ใช้มากที่สุด จะทราบถึงปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรสารสนเทศ และรวมถึงวัตถุประสงค์ของห้องสมุด
  2. ผู้บริหาร เป็นบุคคลที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และช่วยสนับสนุนในการดำเนินงานของห้องสมุดไปด้วยดี
  3. อาจารย์ผู้สอน เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่สอนในสาขาวิชาต่างๆ
  4. นักวิจัยและนักวิชาการ เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสถาบันที่ห้องสมุดสังกัด ทำหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้าและวิจัยคิดค้นเรื่องใหม่ๆ
  5. คณะกรรมการห้องสมุด ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ วางนโยบาย ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานห้องสมุด
  6. ผู้ใช้ห้องสมุด สถาบันสารสนเทศหรือห้องสมุดส่วนใหญ่มักจะให้ผู้ใช้เสนอความต้องการที่ตนเองต้องการใช้
คุณสมบัติของผู้เลือกทรัพยากรสารสนเทศ

  1. เป็นนักอ่าน อ่านอย่างสม่ำเสมอ อ่านทุกอย่าง อ่านทุกประเภท
  2. มีวิจารณญาณที่ดี ถูกต้อง เหมาะสม
  3. มีพื้นความรู้ทางวิชาการอย่างกว้างขวาง
  4. มีความรู้เกี่ยวกับวงผลิตและแหล่งจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศ
  5. มีความรู้เกี่ยวกับคู่มือประกอบการเลือก
  6. เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี
  7. มีความรู้เกี่ยวกับการเลือก
  8. มีความจำดีและมีความคิดรู้จักใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในการทำงาน
  9. เป็นผู้ที่มีความฉลาด เฉียบแหลม มีความรอบรู้หูตาไว และมีความกล้าหาญ ซื่อสัตย์ สุจริต
หลักทั่วไปในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  1. เลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้  มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ ถ้าเป็นห้องสมุดในชุมชนต้องคำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ และวัฒนธรรมประเพณีของผู้ใช้ในท้องถิ่น
  2. เลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของห้องสมุดแต่ละประเภท 
  3. เลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ นโยบาย และหลักสูตรของสถาบัน 
  4. เลือกทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าสูงและได้มาตรฐาน สาเหตุที่ต้องเลือกมีดังนี้
                    4.1 เนื่องด้วยห้องสมุดเป็นแหล่งส่งเสริมและพัฒนาสติปัญญา ความรู้ ความคิด จึงต้องมีวัสดุที่มีคุณค่าเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
                    4.2 ห้องสมุดมีหน้าที่รับผิดชอบในการปรับปรุงรสนิยมในการอ่านของผู้ใช้ห้องสมุด
                    4.3 ความสนใจของผู้อ่านหนังสือบางเล่มไม่ยั่งยืนเป็นเสมือนแฟชั่นอย่างหนึ่งในช่วงเวลานั้น

       5. คำนึงถึงเรื่องงบประมาณและจัดแบ่งงบประมาณ เพื่อการจัดซื้อให้ได้สัดส่วนตามความตองการของผู้ใช้ บรรณารักษ์ต้องสำรวจที่มีอยู่และคำนึงสิ่งต่อไปนี้
                   
                    5.1 หนังสือที่อาจารย์และผู้เรียนต้องการให้จัดหาเพิ่ม
                    5.2 หนังสือในสาขาที่มีน้อยและต้องการเพิ่ม
                    5.3 หนังสือที่ชำรุดเสียหายและต้องการจัดหามาแทน
                    5.4 หนังสือในหลักสูตรที่ต้องมีวัสดุพิเศษ เช่น ต้นฉบับตัวเขียน หนังสือหายาก 

        6. วางใจเป็นกลางในการเลือกซื้อ ทั้งนี้ต้องพิจารณาในแง่คุณค่า โดยยึดหลักการเป็นสำคัญ
        7. เลือกทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาประกอบการเลือกซื้อและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ

        8. เลือกทรัพยากรสารสนเทศที่ผลิตออกมาใหม่ๆ ซึ่งมักจะมีเนื้อหาที่ทันสมัยและทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ

การเลือกทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดประเภทต่างๆ

  1. ห้องสมุดขนาดเล็ก อาจมีบรรณารักษืเป็นผู้เลือกทรัพยากรสารสนเทศที่มีผู้เสนอแนะมากับพิจารณาเลือกตามที่บรรณารักษ์เห็นสมควร
  2. ห้องสมุดขนาดใหญ่ เป็นห้องสมุดที่มีสาขาแยกไปตั้งในสถานที่ต่างๆ การเลือกทรัพยากรสารสนเทศจัดทำในรูปของคณะกรรมการ และมีผู้ประสานงาน
ข้อควรคำนึงในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  1. สำรวจจำนวนและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่
  2. ตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  3. สำรวจตลาดหนังสืออย่างสม่ำเสมอด้วยตัวเองให้ทั่วถึง
  4. ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวในวงการทรัพยากรสารสนเทศ
  5. เชิญครู อาจารย์ หรือบุคลากรในหน่วยงาน ไปเลือกหนังสือจากสำนักพิมพ์หรือร้านจำหน่าย
  6. บรรณารักษืควรศึกษาถึงแผนพัฒนาและโครงการในอนาคตของหน่วยงานที่ห้องสมุดสังกัดอยู่