วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4
การประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ

ความหมายของการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ

          หมายถึง วิธีการที่ใช้เพื่อพิจารณาตัดสินคุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละรายการอย่างละเอียดถี่ถ้วน ว่ามีข้อดีหรือข้อบกพร่องอย่างไร และมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นแนวทางประกอบการพิจารณาตัดสินใจเลือกทรัพยากรสารสนเทศเข้าไว้บริการห้องสมุด

ความสำคัญของการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ

          ก่อนที่จะตัดสินใจจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้นเข้าห้องสมุด ควรมีการประเมินคุณค่าก่อน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทรัพยากรนั้นๆ ได้ผ่านการคัดเลือกและประเมินคุณค่าอย่างรอบคอบแล้วว่า เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าแก่การจัดหาเข้าห้องสมุดอย่างแท้จิง

วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ
  1. ทรัพยากรนั้นมีข้อดีและข้อบกพร่องอย่างไร
  2. ทรัพยากรนั้นมีคุณค่าและประโยชน์มากน้อยเพียงใด
  3. ทรัพยากรนั้นเหมาะสมแก่ใคร
  4. ทรัพยากรนั้นควรจัดหาเข้าห้องสมุดหรือไม่
ประโยชน์ของการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ
  1. เป็นแนวทางในการเลือกและจัดหาทรัพยากรเข้าห้องสมุด
  2. ใช้ประโยชน์ในการแนะนำผู้ใช้ห้องสมุด
  3. เป็นแนวทางในการเปรียบเทียบระดับคุณค่า
  4. ทำให้รู้จักทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ
หลักการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ
  1. หลักในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  2. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
  3. รู้จักใช้เครื่องมือในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
  4. ทราบวัตถุประสงค์และนโยบายการเลือกและการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด
  5. ทราบวิธีการอ่านหนังสือเพื่อประเมินคุณค่า
  6. ทราบวิธีการบันทึกผลการประเมินคุณค่า
เกณฑ์ในการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ

  1. ผู้จัดทำ ความน่าเชื่อถือของผู้จัดทำเป็นข้อหนึ่งที่ควรพิจารณาโดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพและชื่อเสียงของบุคคลเหล่านั้นที่เป็นผู้เขียนหรือสำนักพิมพ์
  2. ขอบเขตของเนื้อหา ควรพิจารณาว่ามีเนื้อหาครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียนหรือไม่
  3. ความเหมาะสมกับกาลเวลา  หรือความทันสมัย ควรพิจารณาดูว่าทรัพยากรสารสนเทศนั้นจัดพิมพ์เมื่อใด ให้พิจารณาปีพิมพ์ล่าสุด
  4. ระดับผู้อ่าน  การจัดทำทรัพยากรสารสนเทศนั้นมีขอบเขตเนื้อหา วิธีการเขียนเหมาะสมสำหรับผู้อ่านระดับใด ผู้เขียนต้องการให้งานที่แต่งขึ้นตรงกับความสนใจของผู้อ่านหรือไม่
  5. การเรียบเรียงเนื้อหา ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อเรื่องได้ง่ายและรวดเร็วโดยมีสารบัญบรรณานุกรม และดรรชนีที่เหมาะสมกับการเรียบเรียงตามลำดับอักษร
  6. รูปแบบ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ควรพิจารณา โดยเฉพาะวัสดุไม่ตีพิมพ์จะพิจารณาจากเทคนิคและวิธีการผลิต โดยใช้วัสดุที่มีคุณภาพที่มีมาตรฐานสูงทนทานต่อการใช้งาน สำหรับสิ่งตีพิมพ์ควรพิจารณากระดาษที่จัดพิมพ์ ตลอดจนการเย็บเล่มมีภาพประกอบที่ชัดเจน มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน โสตทัศนวัสดุมึคุณภาพของเสียงและภาพชัดเจน
  7. ลักษณะพิเศษอื่นๆ ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภทถึงจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่จะมีลักษณะพิเศษอื่นๆ ที่เป็นลักษณะเด่น
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น